เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[487] 1. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม.
บุคคลออกจากฌานที่เป็นปีติสหคตธรรม ออกจากมรรค ออกจากผล
แล้ว พิจารณากุศลกรรนนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปีติสหคตธรรม
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อนด้วยจิต
ที่เป็นปีติสหคตธรรม.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปีติสหคตธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
ปีติสหคตธรรมย่อมเกิดขึ้น.
[488] 2. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือบุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรมแล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสุขสหคตธรรม.

บุคคลออกจากฌานที่เป็นปีติสหคตธรรม, ออกจากมรรค, ออกจาก
ผลแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นสุขสหคตธรรม.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปีติสหคตธรรม
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ในกาลก่อนด้วยจิต
ที่เป็นสุขสหคตธรรม.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นสุขสหคตธรรม ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นสุขสหคตธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
สุขสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
[489] 3. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรม แล้วพิจารณากุศลธรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม
บุคคลออกจากฌานที่เป็นปีติสหคตธรรม, ออกจากมรรค, ออกจาก
ผล, แล้วพิจารณากุศลกรรมนั้น ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปีติสหคตธรรม
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อนด้วยจิต
ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม.

บุกคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ย่อม
ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นอุเบกขาสหคต-
ธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อุเบกขาสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
[490] 4. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม และ
สุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน มาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรม ด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม และ
สุขสหคตธรรม.
บุคคลออกจากฌานที่เป็นปีติสหคตธรรม. ออกจากมรรค. ออกจาก
ผลแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคต-
ธรรม.

พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้วที่เป็นปีติสหคตธรรม,
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ด้วยจิต
ที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม และ
สุขสหคตธรรม, ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น
ราคะที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อม
เกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
[491] 5. สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

6. สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม ฯลฯ
7. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ
8. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม และสุขสหคต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสุขสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.

[492] 9. อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
อุเบกขาสหคตธรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้น ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคต-
ธรรม
บุคคลออกจากฌานที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ
ออกจากผลแล้ว พิจารณากุศลธรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารนากิเลสที่ละแล้วที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม,
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อนด้วยจิต
ที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม,
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นอุเบกขา-
สหคตธรรมย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น อุทธัจจะ
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม
ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.
อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังส-
ญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
[493] 10. อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคต-
ธรรม ฯลฯ

11. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ฯลฯ
12. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม และสุขสหคต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
อุเบกขาสหคตธรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม
และสุขสหคตธรรม.
บุคคลออกจากฌานที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม, ออกจากมรรค, ออก
จากผลแล้ว, พิจารณากุศลกรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม และเป็นสุข
สหคตธรรม.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นอุเขกขาสหคตธรรม
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นและในกาลก่อน ด้วย
จิตที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม.

บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม และ
สุขสหคตธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ
ที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
[494] 13. ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม เป็นปัจจัย
แก่ปีติสหคตธรรม ฯลฯ

14. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ฯลฯ
15. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคตธรรม ด้วย-
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสหคตธรรม และสุขสหคต-
ธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็น
อุเบกขาสหคตธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น
ราคะที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ
อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรมและ
สุขสหคตธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากกัมมูปคตญาณ แก่อนาคตังส-
ญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม และเป็นสุขสหคต-
ธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม ย่อมเกิดขึ้น
[495] 16. ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม เป็นปัจจัย-
แก่ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย ฯลฯ


3. อธิปติปัจจัย


[496] 1. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระ
ทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรมแล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรมแล้ว พิจารณา.
บุคคลออกจากฌานที่เป็นปีติสหคตธรรม ออกจากมรรค ออกจาก
ผลแล้ว กระทำฌานเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นด้วยจิตที่เป็นปีติ-
สหคตธรรมแล้ว พิจารณา.